รายละเอียดและขนาดของช่วงคลื่น Spectral Resolution
วัตถุ แต่ละชนิดมีลักษณะในการสะท้อน ดูดกลืน และส่งต่อพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเฉพาะตัวในแต่ละช่วงคลื่น ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่แสดงให้เราเห็นในภาพรวมของลักษณะการสะท้อนของวัตถุที่ เรียกว่า ลายเส้นเชิงคลื่น หรือ Spectral Signature การที่วัตถุแต่ละชนิดมี Spectral Signatureเฉพาะ ตัวทำให้เราสามารถแยกหรือจำแนกวัตถุออกจากกันได้ ดังนั้นเราจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงความเหมือนและความต่างของลักษณะการ สะท้อนของวัตถุในแต่ละกลุ่ม เพื่อที่จะได้เลือกใช้ช่วงคลื่นที่เหมาะสมกับเทคโนโลยีรีโมทเซนซิงในการ สำรวจวัตถุเป้าหมาย ทั้งนี้ช่วงคลื่นที่นำมาใช้ในระบบพาสซีฟต้องคำนึงถึงหน้าต่างบรรยากาศด้วยก็ คือ เลือกใช้ในช่วงคลื่นที่สามารถผ่านชั้นบรรยากาศมายังโลกได้
หลักในการเลือกใช้ช่วงคลื่น (spectral) และขนาด (ความกว้าง) ของแต่ละช่วงคลื่น (แต่ละ band) มีวัตถุประสงค์ดังนี้
- มีการบันทึกข้อมูลแยกเป็นหลาย ๆ ช่วงคลื่นในเวลาเดียวกัน
- เพื่อประโยชน์ในการศึกษาสิ่งปกคลุมดินหลาย ๆ ประเภท
- ออกแบบให้ช่วงคลื่นตรงกับคุณสมบัติเฉพาะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในแต่ละช่วง
- ช่วงคลื่นขนาดยิ่งแคบ (ซอยย่อย) จะยิ่งช่วยให้ศึกษาค่าการสะท้อนของวัตถุเฉพาะเรื่องได้มากกว่า แต่จำนวนข้อมูลจะมากขึ้นด้วย
- มีการบันทึกข้อมูลแยกเป็นหลาย ๆ ช่วงคลื่นในเวลาเดียวกัน
- เพื่อประโยชน์ในการศึกษาสิ่งปกคลุมดินหลาย ๆ ประเภท
- ออกแบบให้ช่วงคลื่นตรงกับคุณสมบัติเฉพาะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในแต่ละช่วง
- ช่วงคลื่นขนาดยิ่งแคบ (ซอยย่อย) จะยิ่งช่วยให้ศึกษาค่าการสะท้อนของวัตถุเฉพาะเรื่องได้มากกว่า แต่จำนวนข้อมูลจะมากขึ้นด้วย
ศักยภาพการใช้ประโยชน์ข้อมูลดาวเทียม Landsat-5 TM และ SPOT-5
ช่วงคลื่นที่ (band)
|
ข้อมูลดาวเทียม Landsat-5 TM
|
ประเภทช่วงคลื่น
| |
ความยาว
ช่วงคลื่น (ไมโครเมตร) |
คุณสมบัติ
| ||
1
|
0.45 – 0.52
|
ออก แบบให้สามารถทะลุลงไปใต้ผิวน้ำได้ จึงเหมาะสำหรับตรวจสอบลักษณะน้ำตามชายฝั่ง ใช้แยกความแตกต่างของต้นไม้ชนิดผลัดใบและไม่ผลัดใบ ใช้แยกดินจากพืชพรรณ ต่าง ๆ และใช้แยกแยะพื้นที่เพาะปลูก
|
ตามองเห็น
สีน้ำเงิน-เขียว |
2
|
0.52 – 0.60
|
ออกแบบให้วัดค่าการสะท้อนของพื้นที่มีพลังงานสูงสุดของคลื่นตามองเห็นคลื่นสีเขียว เพื่อแยกชนิดพืชรวมทั้งการแยกแยะพื้นที่เพาะปลูก
|
ตามองเห็น
สีเขียว |
2
|
0.52 – 0.60
|
ออกแบบให้วัดค่าการสะท้อนของพื้นที่มีพลังงานสูงสุดของคลื่นตามองเห็นคลื่นสีเขียว เพื่อแยกชนิดพืชรวมทั้งการแยกแยะพื้นที่เพาะปลูก
|
ตามองเห็น
สีแดง |
4
|
0.76 – 0.90
|
ใช้แยกประเภทพืชพรรณ และวัดปริมาณมวลชีวภาพ (biomass content) ใช้แยกส่วนที่เป็นน้ำออกจากส่วนอื่น และใช้ตรวจหาปริมาณความชื้นในดิน
|
อินฟราเรดใกล้
|
5
|
1.55 – 1.75
|
ใช้วัดปริมาณน้ำในใบพืชหรือปริมาณความชื้นในพืชและใช้แยกแยะหิมะออกจากเมฆ
|
อินฟราเรด
คลื่นสั้น |
6
|
10.4 – 1.25
|
ใช้ตรวจสอบความผิดปกติของพืช ศึกษาความแตกต่างของความชื้นในดิน และศึกษาวัตถุต่าง ๆ โดยใช้หลักการของคลื่นความร้อน
|
อินฟราเรด
ความร้อน |
7
|
2.08 – 2.35
|
ใช้แยกแยะชนิดแร่ธาตุต่าง ๆ และชนิดของหิน รวมทั้งศึกษาปริมาณความชื้นในพืช
|
อินฟราเรดกลาง
|
ข้อมูลดาวเทียม SPOT-5
| |||
1
|
0.50 – 0.59
|
ศึกษาพืชพรรณ น้ำ และตะกอนตามชายฝั่ง
รายละเอียดของภาพ 10 m |
ตามองเห็นสีเขียว
|
2
|
0.61 – 0.68
|
ใช้แยกแยะป่าไม้ และสิ่งก่อสร้าง
รายละเอียดของภาพ 10 m |
ตามองเห็นสีแดง
|
3
|
0.79 – 0.89
|
ศึกษาภูมิประเทศ ดินและธรณีวิทยา ใช้แยกส่วนที่เป็นน้ำและไม่ใช่น้ำ
รายละเอียดของภาพ 10 m |
อินฟราเรดใกล้
|
4
|
1.58 – 1.75
|
(SWIR) ใช้วัดปริมาณน้ำในใบพืช หรือปริมาณความชื้นในพืช และใช้แยกแยะหิมะออกจากเมฆ รายละเอียดของภาพ 20 m
|
อินฟราเรด
คลื่นสั้น |
5
|
0.49 – 0.69
|
ให้รายละเอียดของข้อมูลสูงคล้ายกับภาพถ่ายทางอากาศ เพราะมีขนาดจุดภาพ 2.5 เมตร แต่มีข้อด้อยด้านลักษณะเชิงคลื่น เพราะมีค่าช่วงคลื่นกว้างมากตั้งแต่คลื่นตามองเห็นจนถึงอินฟราเรดใกล้
รายละเอียดของภาพ 5 m (2.5 m by interpolation) |
ตามองเห็นสีเขียว-สีแดง และอินฟราเรดใกล้
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น